รู้จักเรา

 

เทศบาลตำบลศรีโพธิ์เงิน

คำขวัญ

พระพุทธศรีมงคลล้ำค่า   งามสง่าพระธาตุขุนน้ำจำเมือง

ลือเลื่องไม้กวาดหนังสติ๊ก   แหล่งน้ำเลี้ยงชีวิตหนองเพิงนาค

1.สภาพทั่วไป

​1.1 ที่ตั้ง อาณาเขต และลักษณะทางกายภาพ​
           จากที่ทำการเทศบาลตำบลศรีโพธิ์เงิน อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย ถึงที่ว่าการอำเภอป่าแดดเป็นระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๖๕ กิโลเมตร เทศบาลตำบลศรีโพธิ์เงิน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๒ บ้านศรีมงคล อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย

1.2 เนื้อที่
        ตำบลศรีโพธิ์เงิน อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๘,๒๕๒ ไร่ เป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตรจำนวน ๔,๕๓๕ ไร่ (เขตความรับผิดชอบ) ๒๙ ตารางกิโลเมตร

1.3 ภูมิประเทศ (แสดงภูมิประเทศของ อบต.)

  • ทิศเหนือ ตำบลโรงช้าง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย
  • ทิศใต้ ​ ตำบลห้วยแก้ว กิ่งอำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
  • ทิศตะวันตก ตำบลแม่ปืม อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  • ทิศตะวันออก ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย

1.4 จำนวนหมู่บ้าน ๘ หมู่บ้าน​
               
จำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตของเทศบาลตำบลศรีโพธิ์เงินทั่วหมู่บ้าน ๘ หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1      บ้านศรีโพธิ์เงิน
  • หมู่ที่ 2      บ้านศรีมงคล
  • หมู่ที่ 3      บ้านป่าไม้สีเหลือง
  • หมู่ที่ 4      บ้านร่องบง
  • หมู่ที่ 5      บ้านศรีพัฒนา
  • หมู่ที่ 6      บ้านศรีโพธิ์ทอง
  • หมู่ที่ 7      บ้านร่องบงใต้
  • หมู่ที่ 8      บ้านดอนศิลา

​1.5 ประชากร

  • จำนวนครัวเรือนทั้งหมด  ๖๘๐  ครัวเรือน
  • ประชากรในตำบลทั้งหมด  ๒,๐๐๕ คน
  • แยกเป็นชาย  ๑,๐๐๐ คน
  • แยกเป็นหญิง ๑,๐๐๕ คน
  • ส่วนใหญ่ อาชีพเกษตกรรม ได้แก่ ทำนา ทำสวนลำไย ปลูกข้าวโพด
  • อาชีพรองได้แก่  รับจ้างทั่วไป  ทำไม้กวาด  หนังสติ๊ก
  • ส่วนใหญ่ฐานะปานกลาง
    (ข้อมูล สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย ของเดือน มกราคม ๒๕๕๗)

2.สภาพเศรษฐกิจ

2.1 อาชีพ

  • การผลิตที่สำคัญของตำบลศรีโพธิ์เงินได้แก่ สาขาการเกษตรกรรม เช่น การทำนา ทำไร่ ทำสวน
  • การเลี้ยงสัตว์ จะเลี้ยงเพื่อการบริโภคและเพื่อจำหน่าย สัตว์ที่นิยมเลี้ยงได้แก่ สุกร เป็ด ไก่ ปลา
  • ส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติให้อาหารเป็นบางครั้ง
  • การอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน เช่น การทำไม้กวาด หนังสติ๊ก เย็บผ้า การจักสาน เป็นต้น

3.สภาพทางสังคม

3.1 การศึกษา

  • โรงเรียนประถมศึกษา,มัธยมต้น(ขยายโอกาส) ๑ แห่ง
  • ศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน ๑ แห่ง
  • ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน ๘ แห่ง (หมู่ที่ ๑-๘)

3.2 สถาบบันและองค์กรทางศาสนา

  • ​วัด 3 แห่ง

3.3 การสาธารณสุข

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง

3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

  • หน่วยบริการประชาชน (ป้อมยามร่องบง)  1  แห่ง
  • จุดตรวจชุมชนช่วงเทศกาล  1  แห่ง
  • ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  1 แห่ง
  • หน่วยกู้ชีพกู้ภัย 1 แห่ง

4.การบริการขั้นพื้นฐาน

4.1 การคมนาคม

  • การคมนาคมขนส่งระหว่างตำบลใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๒๐๒ สายพะเยา-ป่าแดด
  • การคมนาคมขนส่งระหว่างหมู่บ้านใช้เส้นทางถนนเชื่อมติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ซึ่งมีรถโดยสารประจำทางสายป่าแดด – พะเยา บริการรับจ้างทุกวัน

4.2 การโทรคมนาคม

  • ที่ทำการไปรษณีย์ ๐ แห่ง
  • สถานีโทรคมนาคมอื่นๆ ๐ แห่ง

4.3 การไฟฟ้า

  • มีจำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าใช้กันเข้าถึง ๘ หมู่บ้าน
  • ไฟฟ้าสาธารณหมู่บ้าน ทั้ง ๘ หมู่บ้าน จำนวน ๘๐ จุด

4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ

  • มีลำน้ำร่องอ้อย หนองวังหลวง ร่องเปา ร่องแซะ

4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

  • ประปาหมู่บ้าน (หมู่ที่ ๘ มี ๒ แห่ง ) 9 แห่ง
  • บ่อบาดาล 11 แห่ง
  • อ่างเก็บน้ำสันป่าเหียง (หมู่ที่ ๑) 1 แห่ง
  • อ่างเก็บน้ำหนองเพิงนาค (หมู่ที่ ๒) 1 แห่ง
  • อ่างเก็บน้ำห้วยดอกด้าย (หมู่ที่ ๖) 1 แห่ง
  • อ่างเก็บน้ำห้วยโป่ง (หมู่ที่ ๘) 1 แห่ง
  • บ่อน้ำตื้น 10 แห่ง
  • บ่อโยก 3 แห่ง
  • ถังเก็บน้ำฝน 6 แห่ง

5.ข้อมูลอื่นๆ

  • เสียงตามสายหมู่บ้าน (มวลชนจัดตั้งขึ้น)  จำนวน 8 แห่ง
  • ลูกเสือชาวบ้าน ๕ รุ่น จำนวน ๑,๐๘๐ คน 9 แห่ง
  • ไทยอาสาป้องกันชาติ (อสปช.) ๒ รุ่น จำนวน ๑๔๐ คน 11 แห่ง
  • กลุ่มพลังมวลชนตำบลศรีโพธิ์เงินรวมพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ๑ รุ่น จำนวน
  • ศูนย์อาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ๑ รุ่น จำนวน ๖๐ คน
  • หน่วยกู้ชีพกู้ภัยศรีโพธิ์เงิน จำนวน ๑๖ คน
  • อ่างเก็บน้ำห้วยโป่ง (หมู่ที่ ๘) 1 แห่ง
  • สมาชิกตำรวจบ้าน (ส.ตบ) จำนวน ๑๖ คน
  • อาสาพัฒนาป้องกันหมู่บ้าน (อพป) จำนวน ๘ หมู่บ้าน
  • อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) จำนวน ๑๖ คน
  • อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน ๗๙ คน

6. ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น

  • โครงสร้างของเทศบาลตำบลศรีโพธิ์เงิน ประกอบด้วย
  1. สภาเทศบาลตำบลศรีโพธิ์เงิน มีจำนวน ๑๒ อัตรา
  2. คณะผู้บริหาร มีจำนวน ๕ อัตรา
  3. พนักงานเทศบาลและ ลูกจ้างตามภารกิจ (ข้าราชการส่วนท้องถิ่น) มี ๑๖ อัตรา
    โดยมีปลัดเทศบาล  เป็นหัวหน้าพนักงาน
  • ​โครงสร้างของ พนักงาน ข้าราชการ ลูกจ้างตามภาระกิจ ประกอบด้วย ๔ กอง
  1. สำนักปลัดเทศบาลตำบล มีจำนวน ๕ อัตรา
    1.1 หัวหน้าสำนักปลัด
    1.2 บุคลากร
    1.3 นักพัฒนาชุมชน
    1.4 เจ้าพนักงานธุรการ
    1.5 ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ
  2. กองคลัง มีจำนวน ๕ อัตรา
    2.1 หัวหน้ากองคลัง
    2.2 เจ้าพนักงานพัสดุ
    2.3 เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
    2.4 เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
    2.5 ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้
  3. กองช่าง มีจำนวน ๒ อัตรา
    3.1 หัวหน้ากองช่าง
    3.2 นายช่างโยธา
  4. กองการศึกษา มีจำนวน ๓ อัตรา
    4.1 นักวิชาการศึกษา
    4.2 ครูผู้ดูแลเด็ก
    4.3 ผู้ดูแลเด็ก
  • ระดับการศึกษาของบุคลากร
  1. ประถมศึกษา - คน
  2. มัทธยมศึกษา/ปวท. 1 คน
  3. ปวส. - คน
  4. ปริญญาตรี 12 คน
  5. สูงกว่าปริญญาตรี 3 คน
  • ​เครื่องมือ อุปกรณ์ ทางการบริหาร ตลอดจนการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารกิจการ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากงบประมาณมีน้อย การบริหารจัดการจึงค่อยเป็นค่อยไป ยังคงปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
    การรวมกลุ่มของชุมชนในพื้นที
  1. กลุ่มอาชีพขึ้นทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ๑๘ กลุ่ม
  2. กลุ่มออมทรัพย์ ๘ กลุ่ม 

:: กิจกรรมเด่น ::
footer